วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชการที่9

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ว่า
“… ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้จะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ และหมู่นี้ก็พูดกันอย่างเสียขวัญเสียว่าอีกหน่อยต้องปันส่วนน้ำหรือต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ดังนั้น ต้องหาแนวทางแก้ไขซึ่งปัญหานี้ต้องวางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติในวันนี้ เราก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำโครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี และโครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนกว่าแล้วที่นราธิวาส ได้วางโครงการและแม้เป็นโครงการที่ไม่ได้แก้ปีนี้ หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างไรดีประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนในกรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง อาจจะนึกว่า ๕-๖ ปี นั้นนาน ความจริงไม่นานและระหว่างนี้เราก็พยายามแก้ไขเฉพาะหน้าไปเรื่อย แต่ถ้ามีความหวังว่า ๕-๖ ปี ปัญหานี้คงหมดไปก็คงมีกำลังใจที่จะฟันฝ่าชีวิตต่อไป
ที่ว่า ๕-๖ ปีนี้ ความจริงได้เริ่มโครงการนี้มากกว่า ๕-๖ ปี โครงการที่คิดจะทำนี้บอกได้ ไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้วเพราะเดี๋ยวจะมีการคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญจากผู้ที่ต่อต้านการทำโครงการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้าเราก็สบาย แต่ถ้าไม่ทำในอีก ๕-๖ ปีข้างหน้าราคาค่าสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปไม่ได้ทำ เราก็ต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราก็จะอพยพไปที่ไหนไม่ได้ โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือแม่น้ำป่าสัก อีกแห่งคือ แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียงสำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้ สำหรับการใช้น้ำนั้นต้องทราบว่าแต่ละคนใช้อยู่อย่างสบายพอสมควร โดยเฉลี่ยวันหนึ่งใช้คนละ ๒๐๐ ลิตร ถ้าคำนวณดูว่าวันละ ๒๐๐ ลิตรนี้ ๕ คน ก็ใช้ ๑,๐๐๐ ลิตร คือหนึ่งลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าปีหนึ่งคูณ ๓๖๕ ก็หมายความว่า ๕ คนใช้ในหนึ่งปี ๓๖๕ ลูกบาศก์เมตร ในกรุงเทพฯ และในบริเวณใกล้เคียงนี้เรานับเอาคร่าวๆ ว่ามี ๑๐ ล้านคน ๑๐ ล้านคนก็คูณเข้าไปก็เป็น ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นเราเก็บกัก ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตรในเขื่อนเราก็สามารถที่จะบริการคนในละแวกนี้ คนในภาคกลางใกล้กรุงเทพฯ นี้ได้ตลอดไป แล้วก็ไม่มีความขาดแคลน เขื่อนป่าสักที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียวก็พอสำหรับการบริโภคแน่นอน ไม่แห้ง ถ้าเติมอีกโครงการที่นครนายกจะได้อีก ๒๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เกินพอ... ”
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พื้นที่ของโครงการมีทั้งสิ้น ๑๐๕,๓๐๐ ไร่ ซึ่งมีรายละเอียดังนี้
•  จังหวัดลพบุรี มีทั้งสิ้น ๙๖,๖๕๘ ไร่ ครอบคลุม ๓ อำเภอได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล
•  จัหวัดสระบุรี มีทั้งสิ้น ๘,๖๔๒ ไร่ คือ อำเภอวังม่วง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินชนิดมีแกนดินเหนียวยาว ๔,๘๖๐ เมตร สูง ๓๑.๕๐ เมตร ระดับน้ำกักเก็บสูงสุด +๔๓.๐๐ ม.รทก. เก็บน้ำได้ ๙๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
งบประมาณการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น ๑๙,๒๓๐.๗๙๐๐ ล้านบาท



ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สามารถแยกออกได้ดังนี้
ทางด้านประชากร ต้องมีประชากรจาก ๒ จังหวัดรวม ๔ อำเภอ คือ จังหวัดลพบุรีได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดสระบุรี ได้แก่ อำเภอม่วง
ทางด้านสิ่งปลูกสร้างสารธารณะ มีถนนถูกน้ำท่วม ๒ สาย คือ อำเภอชัยบาดาล-อำเภอสนธิ และอำเภอชัยบาดาล – อำเภอด่านขุนทด ส่วนเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีแก่งเสือเต้น-สถานีสุรนารายณ์ และ สายแก่งคอย-บัวใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน วัด ส่วนราชการ และธุรกิจเอกชน
ทางด้านสิ่งแวดล้อม มีแหล่งโบราณคดี ๓๓ แห่ง และวัฒนธรรมชุมชนไทยเบิ้ง รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้แต่เป็นไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
จากผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันให้ความร่วมมือให้ความช่วยเหลือราษฏรในเขต ๒ จังหวัด ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค ด้านไฟฟ้า ถนน น้ำประปา ตลอดจนได้สร้างวัด โรงเรียน และสถานีอนามัย สถานีตำรวจ ทดแทนของเดิมให้กับพื้นที่ชุมชนใหม่ พร้อมทั้งจัดการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ทั้งการเกษตร การประมง การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น สอนการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร การทำดอกไม้จันทน์และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด และการทอผ้าด้วยกี่กระตุก
ประโยชน์จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
•  เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตลพบุรีและสระบุรี
•  เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตลพบุรีและสระบุรี
•  เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตลพบุรีและสระบุรี
•  เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิม
•  เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และแหล่งเพาะพันธ์ปลา
•  ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง และการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
•  ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีขยายตัวมากขึ้น
•  ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีรวมทั้งในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
•  เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
•  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

".เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์"
Spillwayสันเขื่อน

ป็นการก่อสร้างเขื่อน ขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 144,500 ไร่ และพื้นที่ส่วนขยาย 30,000 ไร่
ประโยชน์ของโครงการ
     1. เป็นแหล่งน้ำถาวรเพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี
     2. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี จำนวน 174,500 ไร่
     3. เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิมในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ประมาณ 2,200,000 ไร่
     4. ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี และยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่ตอนล่างลงไปด้วย
     5. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี
     6. อ่างเก็บน้ำจะกลายเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
     7. เป็นแหล่งน้ำเสริมเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
     8. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
     9. เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรีดีขึ้น
วัตถุประสงค
               •  เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และขาดน้ำสนับสนุนการพัฒนาด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี
       • บรรเทาปัญหาการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ที่ตั้งโครงการ
          อยู่ที่ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ระยะเวลาก่อสร้าง
          14 ปี (ปี 2538 - 2551)
งบประมาณทั้งโครงการ
          7,831.000   ล้านบาท
ความเป็นมา 
          เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎรเกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม เขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี

          การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 23,336 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างด้านชลประทาน 7,831 ล้านบาท งบประมาณแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 15,505 ล้านบาท โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเสร็จสมบูรณ์และเพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542


ลักษณะโครงการ
          เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว (Zoned Type) ระดับสันเขื่อน +46.60 ม.รทก. (เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง) ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ความสูงเขื่อน 31.5 ม. ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43.00 ม.รทก. ปริมาณกักเก็บน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร




https://th.wikipedia.org
https://www.google.co.th/
http://www.pasakdam.com/

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นาฏสิลป์


                           เพลง นาฎศิลปื

    รำวงมาตรฐานเป็นการรำคู่  เกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายและหญิง  เป็นการรำที่ใช้กระบวนการใช้ร่างกายในการรำที่สมบูรณ์ มีการใช้ทุกอวัยยวะทุกส่วนของร่างกายในการรำอย่่างครบถ้วน จากที่กระผมได้เรียนรำวงมาตรฐานมาทำให้กระผมมีความชื่นชอบในการเรียนรำวงมาตรฐานมาก เพราะเพลงที่ใช้รำก็มีความอ่อนช้อย อ่อนหวาน และเป็นเพลงปลุกใจ สนุกสนาน มีด้วยกันทั้งหมด 10 เพลง รำแล้วมีความสนุกสนานกับคู่  และหมู่คณะในกลุ่มรำวงมาตรฐานด้วย
      1  คุณค่าความเป็นไทย  เพลงที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องภาษาไทย  ฟังแล้วติดหู และจำง่าย และก่อนจะรำนักแสดงก็ต้องทำความเคารพกันโดยการไหว้ซึ่งกันและกันเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย  ท่ารำแต่ละเพลงก็มีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป  นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่มารำก็มักจะชอบในการรำวงมาตรฐานเพราะท่ารำเป็นแบบพื้นฐานไม่ยากจนเกินไปเพลงก็มีความสนุกสนาน จำง่าย  และเมื่อรำเสร็จก็ต้องทำความเครารพคู่รำของตัวเอง ก่อนจะออกจากวงรำ โดยการไหว้ เป็นการสอนวัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติไปในตัวด้วย
      2  คุณค่าความบันเทิงแบบไทย รำวงมาตรฐาน เป็นการรำแบบคู่ชายและหญิง เดินคู่กันเป็นวงกลมขนาดใหญ่ เล็ก แล้วแต่จำนวนของนักแสดง และสถานที่  ท่ารำของรำวงมาตรฐานก็เป็นแบบแผน นิยมรำตามต้นฉบับ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงท่ารำได้  ส่วนเพลงที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานมีทั้งหมด 10 เพลงรำตามลำดับตั้งแต่เพลงแรก จนถึงเพลงที่ 10 ดังนี้
ชื่อเพลงและท่ารำ
1  งามแสงเดือน                 ชายและหญิง      สอดสร้อยมาลา 
2  ชาวไทย                         ชายและหญิง     ชักแป้งผัดหน้า 
3  รำมาซิมารำ                    ชายและหญิง     รำส่าย 
4  คืนเดือนหงาย                 ชายและหญิง      สอดสร้อยมาลาแปลง 
5  ดวงจันทร์วันเพ็ญ            ชายและหญิง      แขกเต้าเข้ารัง และผาลาเพียงไหล่ 
6  ดอกไม้ของชาติ              ชายและหญิง      รำยั่ว  
7  หญิงไทยใจงาม              ชายและหญิง      พรหมสี่หน้า และ  ยูงฟ้อนหาง 
8  ดวงจันทร์ขวัญฟ้า           ชายและหญิง      ช้างประสานงา และจันทร์ทรงกลด 
9  ยอดชายใจหาญ             ชาย - จ่อเพลิงกาล  หญิง - ชะนีร่ายไม้ 
10 บูชานักรบ                     ชาย - จันทร์ทรงกลด และขอแก้ว หญิง - ขัดจางนางและล่อ
แก้ว 
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาฏศิลป์ รำวงมาตรฐาน
แหล่งอ้างอิง
https://www.google.co.th/search?q=นาฏศิลป์&oq=น&aqs=chrome.

เพลงชาวไทย
 

                          ชาวไทยเจ้าเอย    ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
           การที่เราได้เล่นสนุก    เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
  เพราะชาติเราได้เสรี    มีเอกราชสมบูรณ์
    เราจึงควรช่วยชูชาติ    ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
     เพื่อความสุขเพิ่มพูน     ของชาวไทยเราเอย.


เพลงรำมาซิมารำ 


 รำซิมารำ     เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริงจริง    ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์
      ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น    ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
 ตามเยี่ยงอย่างตามยุค    เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
    เล่นอะไรให้มีระเบียบ    ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
  มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ    มาเล่นระบำของไทยเราเอย.


เพลงคืนเดือนหงาย

ยามกลางเดือนหงาย     เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
         เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต     เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้า     เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย


เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

   ดวงจันทร์วันเพ็ญ      ลอยเด่นอยู่ในนภา
           ทรงกลดสดสี     รัศมีทอแสงงามตา
    แสงจันทร์อร่าม    ฉายงามส่องฟ้า
     ไม่งามเท่าหน้า    นวลน้องยองใย
                 งามเอยแสนงาม    งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา    จริตกิริยานิ่มนวลละไม
          วาจากังวาน    อ่อนหวานจับใจ
  รูปทรงสมส่วน    ยั่วยวนหทัย
        สมเป็นดอกไม้    ขวัญใจชาติเอย.


แหล่งอ้างอิง
https://blog.eduzones.com/



วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของดนตรี

                      องค์ประกอบของดนตรี
 องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี 

1.3.1 เสียง (Tone)         เป็นการยากที่จะกล่าวหรือระบุได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้อย่างแน่ชัด จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานและตั้งข้อสังเกตจากโบราณวัตถุหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานตามหลักการและเหตุผล และคำนึงถึงความเป็นไปได้มากที่สุด ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกำเนิดของดนตรีมีดังนี้
        
ลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นจะมีความแตกต่างไปจากเสียงที่มีความหมายว่า Noise เนื่องจากลักษณะของการเกิดเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงในความหมายว่า Noise นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ เสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการเป่า การร้อง การดีด หรือการสี จะเป็นลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone เพราะการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

  
   เสียงประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ ระดับเสียง ความสั้นยาวของเสียง ความดังเบาของเสียง และสีสันของเสียง

                                                    ระดับเสียง (Pitch)
               
ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียงในเชิงภายภาพ หากความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดเสียงสูง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นลักษณะช้า จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หูของมนุษย์สามารถแยกเสียงตั้งแต่ระดับความถี่ของการสั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที จนถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

     ความสั้น - ยาวของเสียง (Duration)
               
เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสั้นยาวของเสียง กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินลักษณะของการลากเสียงยาวๆ หรือบางครั้งก็จะเป็นลักษณะห้วนๆสั้นๆ ความแตกต่างกันในลักษณะนี้เรียกว่า ความสั้น - ยาวของเสียง
 ความดัง - เบาของเสียง (Dynamics)
               เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความดัง - เบาของเสียงเช่นกัน กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินการบรรเลงเพลงที่มีเสียงดัง อึกทึกครึกโครม ตรงกันข้ามบางครั้งก็จะได้ยินเสียงดนตรีที่นุ่มนวล หรือแผ่วเบา ลักษณะของการเกิดเสียงแบบนี้เรียกว่า ความดัง - เบาของเสียง
  ความดัง - เบาของเสียง อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเบาหรือดังขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆเบาลงหรือค่อยๆดังขึ้น ในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้อักษรย่อจากคำเต็มในภาษาอิตาเลียน ได้แก่ 

fffมาจากคำเต็มว่า   fortississimoหมายถึง   ดังที่สุด
ffมาจากคำเต็มว่า   fortissimoหมายถึง   ดังมาก
fมาจากคำเต็มว่า   forteหมายถึง   ดัง
mfมาจากคำเต็มว่า   mezzo forteหมายถึง   ปานกลางค่อนข้างดัง
mpมาจากคำเต็มว่า   mezzo pianoหมายถึง   ปานกลางค่อนข้างเบา
pมาจากคำเต็มว่า   pianoหมายถึง   เบา
ppมาจากคำเต็มว่า   pianissimoหมายถึง   เบามาก
pppมาจากคำเต็มว่า   pianississimoหมายถึง   เบาที่สุด
                    และยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงลักษณะเสียงที่ค่อยๆดังขึ้น เรียกว่า Crescendo และค่อยๆเบาลง เรียกว่า Decrescendo อีกด้วย
                   ในวัฒนธรรมดนตรีอื่นๆอาจจะไม่ได้มีเครื่องหมายแสดงลักษณะเสียงที่ชัดเจน แต่การบรรเลงจะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความรู้สึกเป็นตัวกำหนด
                   สีสันของเสียง (Tone Color) 
                   สีสันของเสียง (Tone Color หรือ Timbre) หมายถึง ความแตกต่างของเสียงซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน ซึ่งได้แก่เสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ รวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในบทเพลงๆหนึ่ง หากขับร้องโดยผู้ชายก็จะได้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง หรือในการบรรเลงดนตรี หากเป็นการบรรเลงเดี่ยวก็จะมีความแตกต่างไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือบรรเลงโดยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน ลักษณะที่แตกต่างกันนี้เรียกว่าสีสันของเสียง
                  คุณสมบัติทั้ง 4 ประการของเสียงรวมกันทำให้เกิดเสียงดนตรีที่หลากหลายจนทำให้ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยสรุปเสียงดนตรีมีได้ตั้งแต่ ต่ำ - สูง สั้น - ยาว เบา - ดัง และมีเสียงที่แตกต่างกันของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด



    

ชุมนุมดนตรี

                     ชุมนุมดนตรี 



อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลส่วนตัว

 



                              ประวัติส่วนตัว

                                                        ด.ช. สุทิน  สิงห์บ้านหมอ  ชั้น ม.3  เลขที่ 13
                                               เรียนอยู่โรงเรียนบ้านวังอ้อ    อำเภอสากเหล็ก  จังหวัดพิจิตร
                                              สถานโสด  เฟส พิ์ อั่น สามชั้น id ไลน 0949093019

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

LINE เกมเศรษฐี มาหาสนุก



                   เกมคลาสสิคสุดฮิต เล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย มาแล้วในมือถือ - ทอยลูกเต๋า แล้วออกไปท่องเที่ยวแบบไฮโซในโลกกว้างกัน!
เกมสุดมันส์ ลุ้นรวยเงินล้านได้ทุกที่ทุกเวลา - แต่ระวัง อย่าให้ล้มละลายล่ะ!

ท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ ทั่วทุกมุมโลก และบุกไปยังอวกาศ - ลุ้นไปเมืองและดาวต่างๆ ซื้อแล้วสร้างแลนด์มาร์คเป็นของตัวเองให้หมด!

ซื้อต่อเพื่อนให้เรียบ
เล็งให้แม่น ทอยให้โดนเมืองที่ต้องการ แล้วซื้อเลย!
ให้การ์ดคาแรคเตอร์ จี้เครื่องราง และลูกเต๋าสุดเทพ พาไปรวยทั่วทุกมุมโลกตามความฝันของคุณ!

ภายในเกม มีตัวละครสุดสวย สุดเท่ห์ เต็มไปด้วยความสามารถที่แตกต่างกันมากมาย พร้อม Brown Cony และ Sally
อัลบั้มการ์ดแบบใหม่
เก็บการ์ดให้ครบ ก็ได้ไอเทมสุดหายาก ไม่ว่าจะเป็นการ์ดพิเศษ หรือรางวัลมากมายมาครอบครอง!

การ์ดดวง ใบเดียว พลิกทั้งเกม
ลุ้นกับการ์ดดวงที่ได้เมื่อตกช่องดวง ดวงจะดีหรือร้าย เกมจะพลิกไปขนาดไหน มาลุ้นกัน
มีทั้งการ์ดโจมตีเมืองฝ่ายตรงข้ามด้วยการแพร่เชื้อโรค การบังคับขาย บังคับบริจาค หรือบังคับแลกเมือง รวมทั้งการ์ดป้องการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม!
แผนที่มีมากกว่า 9 แผนที่ให้คุณเลือกตามความสนุก ความตื่นเต้น: แผนที่โลก แผนที่ประเทศไทย แผนที่อวกาศ แผนที่สวนสนุก แผนที่ผจญภัย แผนที่สมรภูมิรบ่ แผนที่ซอมบี้ แผนที่หัตถ์เทพ และใหม่ แผนที่ "ดินแดนเวทมนตร์"!

สนุก ตื่นเต้น ไปกับเพื่อนๆและครอบครัวได้ทุกที่ทุกเวลา!
สร้างทีมแข่งกับเพื่อน แล้วครอบครองเมืองต่างๆ ตามที่คุณอยากได้
ตอนนี้พร้อมที่จะไปรวยกันแล้วหรือยังล่ะ?
ความสนุกอีกมากมายรอคุณอยู่ในเกมนี้!
ชวนเพื่อนๆ และครอบครัวของคุณมาลุ้นรวยเงินล้านกันเถอะ!
//www.google.co.th/

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี






การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการทางเทคโนโลยี(Technological Process).
        กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process). คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว













ความสำคัญของกระบวนการทางเทคโนโลยี
         1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
         2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
         3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนทางเทคโนโลยีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่
         1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identification the problem,need or preference)
             กำหนดขอบเขตการแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้น ๆให้ได้ใจความชัดเจน
         2. รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ(Information)
              เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น
              • รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ
              • สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด
              • สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่น
              • ระดมสมองหาความคิด
              • สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ
ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การได้วิธีการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการในหลายแบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหาที่เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด
         3.เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Selection of the best possible solution)
             ในขั้นนี้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูล และความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกันจนได้ข้อสรุปว่า จะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น (Better) สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น(Fasterspeed) ประหยัดขึ้น (Cheaper) รวมทั้งวิธีการเหล่านี้ จะต้องสอดคล้องกับทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่
         4.ออกแบบและปฏิบัติ (Design and making)
           ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้ และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ลำดับความคิด หรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วย นั่นคือเมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
         5.ทดสอบ (Testing to see if it works)
            เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองใช้เพื่อทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้ หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข



วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

......................................

เทคนิคตกปลาทะเล

 เทคนิคตกปลาทะเล

ในที่นี้จะเป็นเทคนิคตกปลาทะเล แบบหน้าดินชายฝั่งทะเลครับ โดยคุณ Shadow        
               โดยเหยื่อ จะแบ่งออกเป็น 2  เภท เป็นเหยื่อเป็น กับเหยื่อตาย โดยเป้าหมายของเหยื่อทั้งสองนั้นจะต่ากัน โดยในรายของเหยื่อเป็นจะเน้นไปที่ พวกปลาที่ล่าเหยื่อครับ จะเป็น ปลาสาก ปลากระพง หรือไม่ก็ปลาสีเสียดประมาณนี้ครับ ส่วนในด้านของเหยื่อตาย ก็จะเป็นปลาปกติโดยทั่วไปนั่นแหละครบ และการใช้เหยื่อตายจะตกง่ายกว่าเหยื่อเป็นมากครับ เป้าหมายของเหยื่อตายก็จะเป็น ปลาทูแขก ปลาทราย ปู ปลาหมึก ปลากระบอกเป็นต้น โดยเหยื่อส่วนใหญ่จะใช้หมึกแล่ ไม่ก็เนื้อปลาแล่ครับ โดยจะเน้นใช้ไปในการใช้หมึกแล่มากกว่า เพราะเห็นผลมากกว่า
                                ตกปลาทะเล

 การเลือกคันเบ็ด
1. ควรมีความยาว 9 ฟุต ขึ้นไป
2. weight ของคันควรมีประมาณ 12-25lb
3. ควรมีน้ำหนักเบา และสามารถสปริงตัวได้รวดเร็ว         
               การเลือกหมายสำคัญมาก ถ้าเราเลือกหมายดีก็มีไชไปกว่าครึ่งละครับ จิงมั้ยครับ?
     เลือกบริเวณที่มีหินน้อยๆ โดยดูจากการลองลงเหยื่อครั้งแรกๆ ถ้ามีการติดหินบ่อยครั้ง เราก้จะตีใกล้ๆตรงที่เราคิดว่ามีหินมาก เพราะปลาจะไม่อยู่ห่างจากกองหินมากนัก แต่เหตุที่ต้องหลบก้อนหินเพราะ อาจจะทำให้คันเบ็ดเสียหายได้ คงจะไม่คุ้มกับการตกปลาเป็นแน่ครับ         
             ช่วงเวลาตกนั้นจะเป็นช่วงเช้ากับช่วงเย็นครับตกกันสบายๆๆ
ช่วงเช้า ตีห้าครึ่งถึงเก้าโมงครึ่ง
ช่วงเย็น สามโมงครึ่งถึงหกโมงครึ่ง


                       ตกปลาทะเล

 การแล่เหยื่อ
   ก็อย่างที่เคยบอกไปแหละครับตกปลาทะเลจะเน้นไปที่เนื้อหมึก ในที่นี้ก็จะเป็นการแล่เนื้อหมึกครับ โดยเหยื่อที่ใช้จะเป็นปลาหมึกล้วย กับ กละปลาหมึกหอม ครับ ยิ่งสดยิ่งได้ผลดีครับ ก็ซื้อมาจากตลาดก็ได้ครับ แต่จริงๆแล้วเราเอาที่เราตกได้มาแร่จะดีมากเลยครับ เพราะรับประกันความสดได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญไม่ควรแช่ปลาหมึกโดยตรงกับน้ำแข็งเลยควรใส่ถุงร้อน ถุงละ2-3ตัวครับ ละคงความสดได้นานขึ้น ส่วนวิธีการแล่ก็แล่เป็นชิ้นยาวๆ ส่วนความกว้างก็กว้างไม่เกิน 1 cm นะครับ แล้วเวลาเกี่ยวเหยื่อก็เกี่ยวดีๆนะครับ บางคนนี่เกี่ยวทีเดียวจบนี่ผิดนะครับ ต้องเกี่ยว ละก็ดึงขึ้นมาเกี่ยวอีกหลายๆทีให้ด้านบนเป็นย่นๆ ละด้านล่างก็ปล่อยยาวครับ
     ก็เท่านี้แหละครับเทคนิคการตกปลาทะเลก็อย่างที่ผมบอกเกือบทุกครั้งเทคนิคนี้อาจจะดีในอีกที่แต่ในอีกที่ก็อาจจะใช้ไม่ได้ดีก็ได้ครับ ยังไงก็ต้องลองปรับแต่งกันไปตามแต่ละสถานที่นะครับ เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ครับ ไม่มีสูตรที่ตายตัวหรอก ยังไงก็ขอให้สนุกกับการตกปลานะครับ